พ.ร.บรถยนต์ คืออะไร คุ้มครองอะไรบ้าง อ่านฟรี ไม่เสียเงิน

เชื่อว่าหลายๆคนคงจะรู้จักหรือได้ยินคำว่า พ.ร.บ.รถยนต์  มากกันพอสมควร ซึ่งคนส่วนใหญ่ก็ไม่เข้าใจความหมายหรอกว่าต้องทำเพราะอะไร ทำเพราะถูกบังคับให้ทำมากกว่า ถ้าไม่ทำก็ถือว่ามีความผิด ซึ่งแท้จริงแล้วการทำ พ.ร.บ. นั้นมีประโยชน์มากมาย และในวันนี้เราจะมาทำความรู้จักคำว่า พ.ร.บ. รถยนต์กันให้เข้าใจกันมากขึ้น

พ.ร.บ.รถยนต์ คืออะไร

คำว่า พ.ร.บ. หมายถึง การประกันรถยนต์ภาคบังคับตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 โดยจะมีการบังคับให้รถยนต์ทุกคันที่จดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบกทำประกันภัยตาม พ.ร.บ. ที่ว่านี้ ซึ่งหากไม่กระทำก็จะมีความผิด มีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือแม้ทำแล้วแต่ไม่ได้ทำการติดเครื่องหมายไว้ที่รถให้เห็นอย่างชัดเจนก็มีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท เช่นกัน

ความคุ้มครองประกันรถ
ความคุ้มครองของ พ.ร.บ รถยนต์

 

เมื่อทำ พ.ร.บ. แล้ว พ.ร.บ. ก็จะให้ความคุ้มครองเกี่ยวกับความเสียหายที่เกิดขึ้นกับเฉพาะตัวบุคคลเท่านั้น ไม่ได้ให้ความคุ้มครองรถ หรือสิ่งที่เสียหายจากการเกิดอุบัติเหตุอย่างประกันภาคสมัครใจ โดยความคุ้มครองที่ได้จาก พ.ร.บ. กำหนดให้มีมูลค่าของความรับผิดชอบ (ต่อคน) ได้แก่ ในกรณีที่ได้รับบาดเจ็บและเสียค่ารักษาพยาบาลก็จะจ่ายให้ค่ารักษาให้ไม่เกิน 50,000 บาทต่อคน ส่วนในกรณีที่เสียชีวิต

อ่านเพิ่มเติม : พ.ร.บ.รถยนต์ คุ้มครองอะไรบ้าง

หรือทุพพลภาพถาวรก็จะจ่ายให้รายละไม่เกิน 100,000 บาท ซึ่งจะเห็นได้ว่าในกรณีผู้ประสบภัยเสียชีวิตก็จะให้คุ้มครองไปถึงทายาทของผู้ประสบภัยข้างต้นด้วย เห็นหรือยังครับว่า พ.ร.บ. รถยนต์ที่ทำนั้นก็มีประโยชน์มากเหมือนกัน ส่วนในเรื่องของอัตราเบี้ยประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ ด้วยความที่ว่าเป็นประกันภัยที่กฎหมายบังคับให้รถทุกคันต้องทำ รัฐจึงได้กำหนดอัตราอัตราเบี้ยประกันรถยนต์ภัยภาคบังคับให้ต่ำที่สุด

เพื่อที่จะเป็นแรงจูงใจให้ประชาชนหรือเจ้าของเข้าสู่ระบบการประกันภัยตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย แต่ในขณะเดียวกันก็จำเป็นที่จะต้องคำนึงถึงภาคธุรกิจด้วยเช่นกัน โดยให้มีความสอดคล้องกับสภาพความเสี่ยงภัยของรถเพื่อให้ธุรกิจที่รับประกันภัยประเภทนี้สามารถที่จะดำเนินการรับประกันภัยได้ด้วย จึงเป็นที่มาของหลัก No Loss No Profit คือ หลักของไม่ขาดทุนแต่ก็ไม่ได้กำไร

ซึ่งเป็นไปตามการประกาศอัตราเบี้ยประกันภัยรถ โดยในปัจจุบันกรมการประกันภัยได้มีการสั่งให้นายทะเบียนกำหนดอัตราเบี้ยประกันภัย พ.ร.บ. เป็นในทิศทางเดียวกันหรือมีอัตราดอกเบี้ยคงที่อัตราเดียว แยกตามประเภทรถ และลักษณะของการใช้งานของรถ ที่สำคัญบริษัทจะไม่สามารถคิดเบี้ยประกันภัยต่างจากที่นายทะเบียนกำหนดได้
สำหรับประกันรถยนต์ที่กฎหมายบังคับให้ทำ พ.ร.บ. ไว้เป็นพื้นฐานนั้น หากไม่ได้ทำ พ.ร.บ. ไว้กับกรมการขนส่งทางบกจะไม่สามารถต่อภาษีรถยนต์ได้ เพราะฉะนั้น พ.ร.บ. จึงเพียงพอในแง่ของเรื่องกฎหมาย แต่ถ้าเมื่อไรที่เราเองเป็นต้นเหตุของอุบัติเหตุจนเกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินอื่นนั้น เราจะต้องทำการรับผิดชอบความเสียหายที่เกิดขึ้นเอง ดังนั้นจึงส่งผลให้ผู้ใช้หรือเจ้าของรถหลายคน ซื้อประกันภัยภาคสมัครใจ เพิ่มเติมเอาไว้ เพื่อช่วยคุ้มครองส่วนที่ พ.ร.บ. ไม่ได้ให้ความคุ้มครอง ซึ่งก็มีหลากหลายแบบให้เลือกตามความต้องการ

บทความโดย : ประกันภัยรถยนต์ไทย.com เคล็ดลับประกันรถ บทความดี  ประกันคุ้มค่า ราคาถูก

อ่านเนื้อหาต้นฉบับได้ที่ : ประกันภัยรถยนต์ไทย.com